Folgen

  • ‘นโยบายเส้นเลือดฝอย’ เป็นแนวคิดหลักที่ทีมบริหารภายใต้ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ’ ใช้เป็นแนวทางหลักในการทำงานตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง ซึ่งโดยนัยหมายถึงการทำงานโดยให้ความสำคัญกับจุดเล็กๆ อย่างทั่วถึง มากกว่าการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่
    .
    แม้นโยบายจะผลิดอกออกผลแล้วในระดับหนึ่ง แต่ถึงที่สุดแล้วปัญหาของกรุงเทพฯ จำนวนมากเป็นปัญหาที่ต้องแก้ในระดับโครงสร้าง – การรับมือวิกฤตแผ่นดินไหวสะท้อนข้อจำกัดด้านนี้ได้อย่างดี
    .
    วันโอวันชวน รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ถอดบทเรียน 3 ปีการบริหารกรุงเทพฯ พร้อมชวนคิดการปรับใหญ่ทั้งในมิติการบริหาร มิตินโยบาย และมิติเชิงโครงสร้างอำนาจ
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล

  • ศาลฎีกาสั่งไต่สวนกรณีชั้น 14 เอง ส่วนคดีฮั้วเลือก สว. กลายเป็นสงครามระหว่างค่ายสีแดง-สีน้ำเงิน จากทั้งสองเหตุการณ์ดูเหมือนว่า กระบวนการตรวจสอบทุจริตของไทยกำลังถูกทำให้เป็นเรื่อง ‘การเมือง’ มากกว่าการสืบหาผู้กระทำผิด?
    .
    ในขณะที่บ้านเมืองเต็มไปด้วยข่าวร้าย ทั้งเรื่องจีนเทา, ตึก สตง.ถล่ม, ความไม่ปลอดภัยของถนนพระราม 2, ภาษีทรัมป์, ความไม่สงบที่ชายแดนใต้ ฯลฯ จนสังคมตั้งคำถามดังๆ ว่ารัฐไทยเป็น Failed state แล้วหรือไม่?
    .
    ชวนคิดชวนคุยในรายการ 101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ผ่านมุมมองโลกวิชาการและสื่อสารมวลชนแบบ ‘วันโอวัน’
    .
    ร่วมคุยโดย วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ | เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง | อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล

  • Fehlende Folgen?

    Hier klicken, um den Feed zu aktualisieren.

  • เหตุสังหารหมู่นักท่องเที่ยว 26 รายที่แคชเมียร์ เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา จุดชนวนความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับปากีสถานที่กินเวลามาหลายทศวรรษให้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทั้งยังส่งผลให้มวลบรรยากาศการเมืองโลกเครียดเขม็งขึ้นกว่าเดิม
    .
    แคชเมียร์เป็นพื้นที่พิพาทระหว่างอินเดียกับปากีสถานมานานนับตั้งแต่ทั้งสองประเทศเป็นเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 1947 ต่างอ้างว่าแคชเมียร์เป็นดินแดนของประเทศตัวเองและเริ่มทำสงครามช่วงชิงพื้นที่กันหลังเป็นเอกราชไม่นาน ภายหลังเกิดโศกนาฏกรรม แม้จะยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าใครเป็นผู้ลงมือ หากแต่รัฐบาลทั้งทางฝั่งอินเดียกับปากีสถาน ก็เริ่มกล่าวโทษและตอบโต้กันในเชิงการทูตเป็นที่เรียบร้อย
    .
    สิ่งที่หลายฝ่ายกังวลคือ ทั้งสองประเทศล้วนครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในมือ และแม้สงครามจะยังไม่เกิดขึ้น หากแต่บรรยากาศคุกรุ่นเช่นนี้ก็สั่นสะเทือนความสัมพันธ์หลายฝ่าย ไม่เพียงแต่อินเดียและปากีสถาน หากยังรวมถึงสหรัฐฯ และจีนซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแดนเอเชียใต้
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย
    สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world และ
    พิมพ์ชนก พุกสุข กองบรรณาธิการ The101.world
    .
    📒 อ่านบทความเพิ่มเติม: https://www.the101.world/101-in-focus-ep-276/

  • นับตั้งแต่รัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา รัฐราชการไทยใหญ่โตและขยายตัวขึ้นมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ไร้ประสิทธิภาพและไม่รับผิดรับชอบต่อประชาชน - ทุกครั้งที่ถูกตรวจสอบไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เสียหายเท่าไหร่ มีคนตายแค่ไหน รัฐไทยก็แทบจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว
    .
    แม้จะเถียงกันในทางวิชาการได้ว่ารัฐไทยเป็น ‘รัฐล้มเหลว’ (failed state) หรือไม่อย่างไร แต่คงมีน้อยคนที่จะปฏิเสธว่ารัฐไทยเป็น ‘รัฐห่วยแตก’ (fuck up state) คำถามมีอยู่ว่า รัฐไทยมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร อะไรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้รัฐไทยห่วยแตกขนาดนี้ รัฐบาลจะมีส่วนแก้ไขได้แค่ไหน และการเมืองภาพใหญ่จะเปลี่ยนรัฐให้ดีขึ้นได้หรือไม่
    .
    พบกับ ‘ค.การเมือง’ รายการวิเคราะห์การเมืองไทยกับ ใบตองแห้ง-อธึกกิต แสวงสุข และ ประทีป คงสิบ สองคอการเมือง สื่อมวลชนรุ่นเก๋าที่คร่ำหวอดในสนามข่าวมาหลายทศวรรษ
    .
    ชวนคุยโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    .
    ทุกวันพฤหัสบดี เวลาสองทุ่มตรง ทาง ‘วันโอวัน’ The101.world

  • เลือกตั้ง อบจ.ผ่านไป เลือกตั้งเทศบาลครั้งใหม่ก็มาอีกแล้ว! สำหรับคนไกลบ้าน การไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นแต่ละครั้งอาจหมายถึงการสูญเสียรายได้และเวลา เพียงเพื่อไปเลือกคนที่ไม่ได้มาดูแลชีวิตเราซึ่งทำงานอยู่ในเมืองอื่น ทำยังไงให้การเลือกตั้งท้องถิ่นมีความหมายและคุ้มค่า ชวนติดตามในรายการ Policy What!
    .
    เปลี่ยนนโยบายอะไรวะ เป็นนโยบายสาธารณะที่คุณเข้าใจได้!
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย
    ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และ
    ณรจญา ตัญจพัฒน์กุล นักวิจัย 101 PUB
    .
    📒 อ่านบทความเพิ่มเติม: https://www.the101.world/policy-what-ep-32/

  • ในระบอบประชาธิปไตย ‘ตุลาการ’ ไม่ได้เป็นเพียงสถาบันที่ทำหน้าที่ตีความกฎหมาย หากยังเป็นกลไกถ่วงดุลอำนาจ และในบางบริบท อาจกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดทิศทางทางการเมือง
    .
    วันโอวันชวนสนทนากับ ศาสตราจารย์ ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี นักรัฐศาสตร์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยสองประเด็นสำคัญจากสองซีกโลก
    .
    ด้านหนึ่งคือกรณีการเสนอชื่ออาจารย์สิริพรรณเข้าสู่กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่แม้จะผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการฯ อย่างเป็นเอกฉันท์ แต่กลับไม่ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา ถือเป็นกรณีศึกษาที่เปิดคำถามสำคัญถึงโครงสร้างอำนาจของวุฒิสภาไทย และบทบาทในกระบวนการแต่งตั้งองค์กรอิสระ
    .
    อีกด้านคือบทบาทของศาลสูงสหรัฐฯ (Supreme Court) ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในยุคประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ขยายบทบาทจากการตีความกฎหมาย สู่การเป็นผู้เล่นหลักในสมดุลอำนาจทางการเมือง ทั้งในประเด็นสิทธิพลเมือง เสรีภาพในการแสดงออก และการจำกัดอำนาจฝ่ายบริหาร
    .
    ร่วมเปิดพื้นที่และคิดใหม่ต่อสถาบัน ‘ตุลาการ’ ผ่านสายตานักรัฐศาสตร์ และตั้งคำถามต่อความชอบธรรมของกระบวนการถ่วงดุลอำนาจทั้งในไทยและสหรัฐฯ
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

  • ปัจจุบันทุนจีนแทรกซึมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทย แต่ที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือการขยายตัวของ ‘ทุนจีนสีเทา’
    .
    ตัวอย่างการทำธุรกิจสีเทาของชาวจีนในไทยคือ การฟอกเงิน การค้ายาเสพติด การพนันออนไลน์ คอลเซ็นเตอร์ การกว้านซื้อและปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ให้คนจีน โดยมีฉากหน้าเป็นการทำธุรกิจถูกกฎหมายทั่วไป อย่างโรงแรมหรือร้านอาหาร
    .
    ธุรกิจสีเทาเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยการมีผู้มีอำนาจทั้งแวดวงการเมืองและราชการในสังคมไทยให้การอุปถัมภ์และอำนวยความสะดวก
    .
    ความเชื่อมโยงทั้งหมดนั้นปรากฏอยู่ในงานวิจัยเรื่อง Explaining ‘Grey Capital’ ของเกรกอรี วินเซนต์ เรย์มอนด์ (Gregory V. Raymond) นักวิชาการจาก Strategic and Defence Studies Centre มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้จึงชวนมองรูปแบบโครงสร้างสังคมจีนและไทยที่เอื้อต่อการเติบโตของ ‘ทุนจีนสีเทา’ และการสร้างคอนเน็กชันของนักธุรกิจจีนกับผู้มีอำนาจในไทย
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย
    วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และ
    ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world
    .
    📒 อ่านบทความเพิ่มเติม: https://www.the101.world/101-in-focus-ep-275/

  • การฟ้อง ดร.พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย กอ.รมน.ภาค 3 กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนของรัฐบาล เมื่อปัญหานี้อาจผูกโยงกับเงื่อนไขการเจรจาภาษีของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    โดยไม่ต้องพูดถึงปัญหาของกฎหมาย ม.112 กรณีของ ‘พอล แชมเบอร์ส’ มีปัญหาในทั้งมิติข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย การเมืองภายใน และการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งหมดนี้กำลังสะท้อนว่า ‘รัฐพันลึก’ ของไทยไม่ได้เข้าใจสถานการณ์ไทยในความเปลี่ยนแปลงของโลก
    .
    พบกับ ‘ค.การเมือง’ รายการวิเคราะห์การเมืองไทยกับ ใบตองแห้ง-อธึกกิต แสวงสุข และ ประทีป คงสิบ สองคอการเมือง สื่อมวลชนรุ่นเก๋าที่คร่ำหวอดในสนามข่าวมาหลายทศวรรษ
    .
    ชวนคุยโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    .
    ทุกวันพฤหัสบดี เวลาสองทุ่มตรง ทาง ‘วันโอวัน’ The101.world

  • พื้นที่แคชเมียร์กลับมาเป็นจุดร้อนที่โลกจับตาอีกครั้ง เมื่อเกิดเหตุก่อการร้ายสังหารหมู่ 26 นักท่องเที่ยวในวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลอินเดียกล่าวหาว่าประเทศคู่พิพาทกันมายาวนานอย่างปากีสถานอยู่เบื้องหลัง นำไปสู่การลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน และกำลังสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่ความตึงเครียดนี้อาจยกระดับไปเป็นสงครามใหญ่ครั้งใหม่ระหว่างทั้งสองชาติ
    .
    ความขัดแย้งระลอกใหม่นี้กำลังเดินไปสู่อะไร และจะกระเทือนโลกขนาดไหน? วันโอวันชวน ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก คอลัมนิสต์ประจำ The101.world และนักวิชาการที่สนใจศึกษาภูมิภาคเอเชียใต้ มาร่วมวิเคราะห์สถานการณ์
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

  • “ชีวิตพลิกผันในเวลาไม่กี่นาที” คงเป็นประโยคที่นิยามสถานการณ์ของชาวเมียนมาหลายคนได้อย่างดีในตอนนี้ หลังจากที่พวกเขาเพิ่งเผชิญเหตุแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา จนพบกับความสูญเสียมากมาย
    .
    ความเสียหายหนักหนาสาหัสขนาดไหน และขวัญกำลังใจของชาวเมียนมาผู้ประสบภัยเป็นอย่างไร ASEAN บ่มีไกด์ ชวน แนทตี้ – อรรวี แตงมีแสง และ ออมสิน – ณภัทร กองจันทร์ จากแฟนเพจ Natty Loves Myanmar ที่ได้เดินทางไปสำรวจเมืองมัณฑะเลย์ สะกาย และอังวะ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว มาเล่าเรื่องราวจากพื้นที่ให้ฟัง
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย
    เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
    .
    (ภาพถ่ายโดย ณภัทร กองจันทร์ / Natty Loves Myanmar)

  • ‘กัน จอมพลัง’ ‘สายไหมต้องรอด’ ‘ทนายคลายทุกข์’ ฯลฯ ในช่วงที่ผ่านมา สังคมไทยเต็มไปด้วย ‘ฮีโร่’ กล่าวคือนักเคลื่อนไหวช่วยเหลือและเรียกร้องความยุติธรรมแก่ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน กรณีล่าสุดที่กลายเป็นประเด็นดังอาจหนีไม่พ้นกรณีที่กัน จอมพลังออกโรงสนับสนุนครอบครัวผู้ได้รับบาดเจ็บเนื่องจาก พีช-สมิทธิพัฒน์ หลีนวรัตน์ ลูกนักการเมืองผู้สมัครสมาชิกเทศบาล ขับรถหรูปาดหน้า
    .
    ประเด็นที่ชวนคุยอาจไม่ใช่ประเด็นขับรถปาดหน้าเสียทีเดียว หากเป็นประเด็นว่าด้วย ‘ทนายอเวนเจอร์ส’ หรือก็คือกลุ่มผู้เคลื่อนไหวประเด็นปัญหาทางสังคมผ่านการใช้กฎหมายหรือการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม โดยใช้สื่อสาธารณะสมัยใหม่เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อดึงความสนใจจากสังคม ซึ่งหากมองให้ดีจะเห็นว่าปรากฏการณ์นี้สะท้อนสังคมการเมืองไทยหลายประการ ทั้งในแง่ของวิธีคิดด้านคุณธรรม ในแง่ของการตระหนักรู้ซึ่งสิทธิที่มี และในแง่ของการขาดประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมไทย
    .
    คำถามสำคัญคือ หากสังคมไทยมีระบบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ตรงไปตรงมา ประชาชนจะยังวิ่งเข้าหา ‘ฮีโร่’ และออกมาแสดงดรสม่าผ่านสื่อโซเชียลเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมทำงานหรือไม่
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุยถึงปรากฏการณ์ฮีโร่ -ทนายอเวนเจอร์ส- ในสังคมไทย พร้อมชวนหาคำตอบว่ากระบวนการยุติธรรมไทยบกพร่องหรือมีปัญหาไหนมิติใดบ้าง ประชาชนยังไว้ใจกระบวนการยุติธรรมไทยอยู่หรือไม่ อย่างไร
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย
    ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และ
    เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world
    .
    📒 อ่านบทความเพิ่มเติม: https://www.the101.world/101-in-focus-ep-274/

  • “เผอิญคะแนนมันไม่ถึงก็เลยต้องจับกันหน่อย” แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามนักข่าวประเด็นจับมือกับคนทำรัฐประหารหรือไม่ กลายเป็นประเด็นวิจารณ์ว่านักการเมืองและพรรคการเมืองควรต้องรักษาคำพูดที่ให้ไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งระดับใด นโยบาย? จุดยืนทางการเมือง? แล้วทำไมการรักษาสัจจะทางการเมืองจึงสำคัญ
    .
    ขณะที่กระแสข่าวเรื่องการปรับ ครม. ถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่อง เพื่อไทยจะยังจับมือภูมิใจไทยเป็นรัฐบาลต่อหรือไม่ การขอเก้าอี้ มท.1 คืนเป็นแค่ข่าวปั่นหรือเรื่องจริง
    .
    ชวนคิดชวนคุยในรายการ 101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ผ่านมุมมองโลกวิชาการและสื่อสารมวลชนแบบ ‘วันโอวัน’
    .
    ร่วมคุยโดย วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ | เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง | อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล

  • ต้นเดือนที่ผ่านมา (เม.ย. 2025) รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศขึ้นอัตราภาษีศุลกากรกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จุดฉนวนสงครามการค้ารอบใหม่ หนึ่งในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นคือ สินค้าจีนอาจหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยมากกว่าเดิม ไม่ใช่ว่าการนำเข้าสินค้าจากจีนหรือต่างประเทศเป็นเรื่องไม่ดี แต่ทุกวันนี้ สินค้าจีนไม่ได้เข้ามาแข่งขันกับสินค้าไทยอย่าง 'เป็นธรรม' จนอาจส่งผลเสียต่อธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคมไทยในระยะยาว ชวนพูดคุยในรายการ Policy What!
    .
    เปลี่ยนนโยบายอะไรวะ เป็นนโยบายสาธารณะที่คุณเข้าใจได้!
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย
    ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และ
    วรดร เลิศรัตน์ นักวิจัย 101 PUB
    .
    📒 อ่านบทความเพิ่มเติม: https://www.the101.world/policy-what-ep-31/

  • ผ่านไป 14 วัน หลังตึก สตง. ถล่มเพราะแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวในเมียนมา เหตุไม่คาดฝันครั้งนี้เปิดเปลือย ‘แผล’ หลายแผลของรัฐไทย หนึ่งในนั้นคือปัญหาขององค์กรอิสระอย่าง สตง. ที่ขยายอำนาจตนเอง โดยปราศจากการตรวจสอบ
    .
    และอีกประเด็นสำคัญ คือการจับกุม ‘พอล แชมเบอร์ส’ นักวิชาการสัญชาติอเมริกัน ซึ่งประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ด้วยข้อหา ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นี่เป็นการส่งสัญญาณปิดปากนักวิชาการหรือไม่
    .
    ชวนคิดชวนคุยในรายการ 101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ผ่านมุมมองโลกวิชาการและสื่อสารมวลชนแบบ ‘วันโอวัน’
    .
    ร่วมคุยโดย วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ | เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง | อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล

  • นาทีนี้คงไม่มีเรื่องใดร้อนแรงน่าจับตาไปกว่านโยบายเรียกเก็บภาษีต่างตอบแทน (reciprocal tariffs) ของสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าจะเรียกเก็บภาษีกับสินค้านำเข้าจากประเทศคู่ค้าในอัตราที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละประเทศ โดยเริ่มต้นที่ 10% และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 เมษายน จนหลายประเทศต้องออกมาแถลงการณ์ตำหนิ เปิดมาตรการตอบโต้ ไม่ก็เฮละโลเข้าไปขอเจรจาเป็นการใหญ่
    .
    ล่าสุด หลังมาตรการบังคับใช้ได้ไม่ถึงหนึ่งวัน ทรัมป์กลับประกาศระงับการเรียกเก็บภาษีดังกล่าวให้ 75 ประเทศที่พยายามติดต่อผู้แทนสหรัฐฯ เป็นเวลา 90 วัน แต่หันไปเพิ่มอัตราภาษีจากสินค้าจีนชนิดอัปเดตรายชั่วโมงแทน
    .
    ความไม่แน่นอนบนหน้าข่าว บวกกับการตัดสินใจที่ยากจะคาดเดาของผู้นำสหรัฐฯ ไม่เพียงแค่สร้างความตกตะลึง อึ้ง ทึ่ง เหวอ หายใจไม่ทั่วท้องแทบทั้งโลกเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความแปรปรวนของเศรษฐกิจโลกขนานใหญ่อีกด้วย
    .
    หลายคนตั้งข้อสงสัย -อาจจะตั้งแต่ตอนที่ทรัมป์เริ่มใช้นโยบายกำแพงภาษีหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปลายปีก่อน- ว่าทำไมทรัมป์ถึงทำแบบนี้? ไอเดียเรียกเก็บภาษีเพื่อขจัดการขาดดุลการค้ามีที่มาจากไหน? (มาจากความไม่เข้าใจในหลักเศรษฐศาสตร์และการค้าเสรีจริงหรือ?) และเราควรต้องจับตาเรื่องอะไรต่อไป?
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุยชวนคิดถึงเรื่องวุ่นๆ ของกำแพงภาษีสหรัฐฯ เบื้องหลังนโยบายของทรัมป์อันมีชายที่ชื่อ ‘โรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์’ เป็นมันสมองหลัก และมองภาพการเตรียมรับมือของไทย ไปจนถึงประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย
    ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world และ
    สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    .
    📒 อ่านบทความเพิ่มเติม: https://www.the101.world/101-in-focus-ep-273/

  • การภิปรายเรื่องปฏิบัติการ I/O ของกองทัพต่อภาคประชาชน นักวิชาการ และนักการเมืองทุกฝ่าย เป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเมืองและประชาธิปไตยไทย แต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสงครามการค้าในระดับโลกส่งผลให้ประเด็นนี้หายไปจากความสนใจของสังคมไวกว่าที่ควร
    .
    I/O คืออะไร ในทางการเมืองรัฐสามารถ I/O ได้อย่างชอบธรรมหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน เราควรประเมินศักยภาพของกองทัพในการทำ I/O อย่างไร และถึงที่สุดแล้วการทำ I/O ของกองทัพรอบนี้กำลังบอกอะไรเรา
    .
    ย้อนวิเคราะห์ปฏิบัติการณ์ I/O แบบลึกๆ ในรายการ ‘ค.การเมือง’ รายการวิเคราะห์การเมืองไทยกับ ใบตองแห้ง-อธึกกิต แสวงสุข และ สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี สองคอการเมือง สื่อมวลชนรุ่นเก๋าที่คร่ำหวอดในสนามข่าวมาหลายทศวรรษ
    .
    ชวนคุยโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    .
    ทุกวันพฤหัสบดี เวลาสองทุ่มตรง ทาง ‘วันโอวัน’ The101.world

  • After Shock ที่สั่นสะเทือนสังคมไทยหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2025 คือความไม่วางใจต่อความโปร่งใสของภาครัฐและการตั้งคำถามถึงองค์กรอิสระที่ทำงานตรวจสอบถ่วงดุลอย่างกว้างขวาง เราใช้เงินไปกับการสร้างเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสกันแบบไหน ทำไมดัชนีคอรัปชันไทยถึงตกต่ำลงที่สุดในรอบสิบปี ติดตามใน Policy What!
    .
    เปลี่ยนนโยบายอะไรวะ เป็นนโยบายสาธารณะที่คุณเข้าใจได้!
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย
    ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และ
    สรัช สินธุประมา นักวิจัย 101 PUB
    .
    📒 อ่านบทความเพิ่มเติม: https://www.the101.world/policy-what-ep-30/

  • วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ส่งแรงสั่น
    สะเทือนถึงหลายพื้นที่ในประเทศไทย สร ้ างความตื่นตระหนกให ้ กับผู ้ คนมากมาย อาคารหลายแห่งได ้ รับ
    ความเสียหาย โดยเฉพาะอาคารสำานักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ที่พังถล่มลงมา ส่งผลให ้ มีผู ้ ได ้ รับ
    บาดเจ็บและเสียชีวิต
    .
    แน่นอนว่าแผ่นดินไหวไม่ใช่เรื่องใหม่ ย ้ อนกลับไปในอดีตกาล มีตำานานอาณาจักรโยนกนครที่เชื่อกันว่า
    ล่มสลายจากเหตุแผ่นดินไหว ส่วนในโลกยุคปัจจุบัน มนุษย์ก็ได ้ รู ้ จักรอยเลื่อนขนาดใหญ่ อย่างรอยเลื่อน
    สะกายในเมียนมา และรอยเลื่อนซานแอนเดรียสในสหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อให ้ เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงมาแล ้ ว
    หลายครั้ง คำาถามสำาคัญคือ เราจะเรียนรู ้ อะไรได ้ บ ้ างจากเรื่องราวเหล่านี้
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนทำาความเข ้ าใจปรากฏการณ์แผ่นดินไหวผ่านหลากหลายแง่มุม ทั้งในมิติ
    ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ตลอดจนข ้ อเท็จจริงและแนวปฏิบัติสำาหรับผู ้ ใช ้ ชีวิตบนตึกสูงหลัง
    เกิดเหตุแผ่นดินไหว
    .
    🎙 ดำาเนินรายการโดย
    ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world และ
    ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอิสระ The101.world
    .
    📒 อ่านบทความเพิ่มเติม: https://www.the101.world/101-in-focus-ep-272/

  • เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 สร้างความสูญเสียและตกใจต่อคนไทยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สถานการณ์และความสูญเสียที่เกิดขึ้นส่งผลสังคมไทยให้ความสำคัญกับกรุงเทพฯ เป็นส่วนใหญ่ และอาจไม่ได้สนใจพื้นที่ในต่างจังหวัดและพม่ามากนัก
    .
    ในห้วงเวลาที่ฝุ่นในกรุงเทพฯ เริ่มหายตลบ ค.การเมืองชวนติดตามความเสียหายของแผ่นดินไหวในพม่าที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วหลายพัน และและยิ่งเลวร้ายมากขึ้นจากการถูกซ้ำเติมด้วยสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งกำลังลุกลามกลายเป็นวิกฤตมนุษยธรรมที่ประชาคมนานาชาติต้องร่วมคิดและแก้ไข
    .
    พบกับ ‘ค.การเมือง’ รายการวิเคราะห์การเมืองไทยกับ ใบตองแห้ง-อธึกกิต แสวงสุข และ สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี สองคอการเมือง สื่อมวลชนรุ่นเก๋าที่คร่ำหวอดในสนามข่าวมาหลายทศวรรษ
    .
    ชวนคุยโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    .
    ทุกวันพฤหัสบดี เวลาสองทุ่มตรง ทาง ‘วันโอวัน’ The101.world

  • ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สังคมไทยหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากขึ้นจนกลายเป็นวาระของสังคมในทุกระดับ โดยเฉพาะแวดวงวิชาการและชุมชนนโยบาย ที่หันมาผลิตงานวิชาการ สร้างองค์ความรู้ และนำไปทดลองใช้จริงอย่างต่อเนื่อง
    .
    คำถามที่น่าสนใจคือ ท่ามกลางการทำงานอย่างต่อเนื่องเข้มข้น เรารู้อะไรแค่ไหน อะไรคือส่ิงที่เรายังไม่รู้ และสังคมไทยมีคำตอบที่ ‘ใช่’ แล้วหรือยัง
    .
    กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับวันโอวันชวนสำรวจและตกผลึกสถานะขององค์ความรู้ด้านการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย กับ ผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้านที่ใช้ 3 ‘แว่นตา’ ในการทำความเข้าใจปัญหา
    .
    💬 พบกับ
    .
    🔹 รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    🔹 รศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    🔹 ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    🎙️ ดำเนินรายการโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
    .
    กสศ. x 101